1.กฎหมายคืออะไร
จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กฎหมายคือคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด
หรือผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินโดยที่ไม่ต้องฟังอำนาจจากผู้ใดอีกเป็นผู้บัญญัติขึ้นมีสภาพบังคับผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องได้รับการลงโทษและการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคเพราะทุกคนในชาติจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดไม่ว่าจะเป็นใครหากว่าใครฝ่าฝืนจะได้รับการลงโทษเท่าเทียมกัน
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น
ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร
จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการที่กฏหมายกำหนดให้บุคลากรทางการศึกษามีใบประกอบวิชาชีพ เพราะจะทำให้ผู้อื่นรู้ว่าผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพนั้น มีความพร้อมในการจัดการศึกษาทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของคุณธรรม ด้านการบริหาร และด้านการสอน เพราะพวกเขาเหล่านั้นได้ผ่านทุกกระบวนการที่ทำให้พวกเขาเป็นครูที่มีคุณภาพ หรือมีเครื่องหมายการันตีว่าเขาเหล่านั้นมีประสิทธิภาพและความพร้อมเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายรวมไปถึงผู้ปกครองทุกคนก็จะได้มีความมั่นใจที่จะส่งลูกหลานเข้ามาศึกษาในสถานศึกษานั้น
ตอบ ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการที่กฏหมายกำหนดให้บุคลากรทางการศึกษามีใบประกอบวิชาชีพ เพราะจะทำให้ผู้อื่นรู้ว่าผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพนั้น มีความพร้อมในการจัดการศึกษาทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของคุณธรรม ด้านการบริหาร และด้านการสอน เพราะพวกเขาเหล่านั้นได้ผ่านทุกกระบวนการที่ทำให้พวกเขาเป็นครูที่มีคุณภาพ หรือมีเครื่องหมายการันตีว่าเขาเหล่านั้นมีประสิทธิภาพและความพร้อมเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายรวมไปถึงผู้ปกครองทุกคนก็จะได้มีความมั่นใจที่จะส่งลูกหลานเข้ามาศึกษาในสถานศึกษานั้น
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ อย่างแรกเลยเราต้องใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่นของเราให้เกิดประโยชน์มากที่สุดก่อน และขอความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนที่มีอยู่ในชุมชนและ จัดเก็บภาษีเพื่อ การศึกษาได้ตามความเหมาะสม
ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วน ร่วมในการจัดการศึกษา
บริจาคทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา และมีส่วนร่วม
รับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ รูปแบบการจัดการศึกษามีทั้งหมด
3 รูปแบบ คือ
(1)
การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา
ของการศึกษา
การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2)
การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษา
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของ
การสำเร็จการศึกษา
โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา
และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3)
การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ศักยภาพ
ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ
หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
และการศึกษาในระบบมี
2 ระดับ คือ
(1)
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยการศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี
ก่อนระดับอุดมศึกษา
(2)
การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ การศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นไม่ได้บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย
ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา
69
ของรัฐธรรมนูญ แต่ การศึกษาภาคบังคับ
เป็นการศึกษาที่มีกฎหมายบังคับให้ทุกคนเรียนอยู่ในโรงเรียนจนกว่าจะพ้นเกณฑ์
ซึ่งกำหนดตามอายุ
หรือระดับการศึกษาที่ได้แสดงไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว
อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดังนี้
(๑) สำนักงานรัฐมนตรี
(๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
(๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(๔)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ การประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546 เพื่อใช้เป็นกรอบหรือแนวปฏิบัติให้บุคลากรทางการศึกษาผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพ
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า
ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว
หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ ไม่ผิด
เพราะในมาตราที่ 53 ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546 ได้มีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว
หรือไปสอนเป็นประจำสามารถทำได้
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน
อะไรบ้าง
ตอบ ดิฉันคิดว่า
โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ
บทลงโทษที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประพฤติในทางที่ไม่ดี ทำผิด
หรือกระทำที่ไม่ชอบไม่ควรลงไป ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่งโทษผิดวินัยมี 5 สถาน
คือ
1. ภาคทัณฑ์ 2.
ตัดเงินเดือน 3. ลดขั้นเงินเดือน 4. ปลดออก 5. ไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน
เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม
ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย
ตามความเข้าของท่าน
ตอบ -
เด็ก หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
- เด็กเร่ร่อน หมายถึง
เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้
จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
-เด็กกำพร้า หมายถึง เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
-เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก หมายถึง
เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง
หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
-เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายถึง
เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย
ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
-ทารุณกรรม หมายถึง การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
-ทารุณกรรม หมายถึง การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น